วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556

แรงดันของน้ำเหนือประตูน้ำหรือเขื่อน

แรงดันของน้ำเหนือประตูน้ำหรือเขื่อน

เมื่อ พิจารณาที่ประตูกั้นน้ำหรือเขื่อน จะมีแรงดันเนื่องจากน้ำและอากาศกระทำต่อประตูน้ำหรือเขื่อนตลอดเวลา แต่เนื่องจากแรงลัพธ์ของอากาศบนประตูน้ำหรือเขื่อนทั้งสองด้านเป็นศูนย์ จึงพิจารณาแรงดันเนื่องจากน้ำเท่านั้น
ลักษณะของประตูน้ำหรือเขื่อนมี 2 ลักษณะใหญ่ คือ
1. ตั้งตรงในแนวดิ่ง
2.  เอียง
การคำนวณหาแรงดันที่กระทำต่อประตูกั้นน้ำหรือเขื่อน
1. ลักษณะแรงดันของน้ำจะตั้งฉากกับผิวสัมผัส คือ ผนังเขื่อนหรือผนังประตูน้ำเสมอ
2. การคำนวณหาขนาดของแรงดันเหมือนกับการหาแรงดันของของเหลวที่กระทำต่อผนังภาชนะ คือ

หรืออาจเขียนความสัมพันธ์ของ F กับ h กรณีประตูกั้นน้ำหรือเขื่อนตั้งตรงในแนวดิ่ง ได้ว่า

เมื่อพิจารณาน้ำที่อยู่เหนือเขื่อนหรือประตูกั้นน้ำอยู่นิ่ง แรงที่กระทำต่อเขื่อนหรือประตูกั้นน้ำในรูปที่ 11  เท่ากับ

ซึ่งจะเห็นว่า แรงทั้งหมดที่กระทำต่อเขื่อนหรือประตูกั้นน้ำ แปรผันตรงกับความสูงของระดับน้ำยกกำลังสอง
ดังนั้นเมื่อน้ำเหนือเขื่อนหรือประตูกั้นน้ำสูงเพิ่มขึ้น จะทำให้แรงที่กระทำต่อเขื่อนหรือประตูกั้นน้ำมีค่าเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ ซึ่งถ้าแรงกระทำมากอาจจะเป็นอันตรายเพราะอาจทำให้เขื่อนหรือประตูกั้นน้ำพัง ทะลายได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น