วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556

วงจรไฟฟ้า

วงจรไฟฟ้า

      วงจรไฟฟ้า ประกอบด้วย ความต้านทานหลายตัวต่อเข้าด้วยกันแบบต่างๆ เซลล์ไฟฟ้าหลายๆ เซลล์ต่อเข้าด้วยกัน  มีการใช้แอมมิเตอร์    โวลต์มิเตอร์วัดในจุดต่างๆ     ซึ่งเมื่อต่อตัวนำหรือตัวต้านทานเข้ากับแหล่งกำเนิดไฟฟ้า   จะมี
 กระแสไฟฟ้าไหลผ่านตัวต้านทานและแหล่งกำเนิดไฟฟ้านั้น
      กระแสไฟฟ้าที่เกิดก็เนื่องจากการเคลื่อนที่ของประจุ
 ไฟฟ้า
 
โดยประจุไฟฟ้าได้รับพลังงานจากแหล่งกำเนิดไฟฟ้า


แรงเคลื่อนไฟฟ้า
(electromotive  force ; e.m.f.)

       แรงเคลื่อนไฟฟ้า หรือ electromotive force (emf ; E) ของแหล่งกำเนิดไฟฟ้าใดๆ นิยามว่า  เป็นพลังงาน
 ที่แหล่งกำเนิดนั้นจะสามารถให้ได้ต่อหน่วยประจุไฟฟ้า  ตัวอย่างเช่น
       เมื่อกล่าวว่า  ถ่านไฟฉายก้อนหนึ่งมีแรงเคลื่อนไฟฟ้า 1.5 โวลต์ (V) หรือจูลต่อคูลอมบ์ (J/C) จะหมายความว่า
 ถ่านไฟฉายก้อนนั้น    สามารถให้พลังงานได้ 
1.5  จูลต่อประจุไฟฟ้าทุกๆ  1  คูลอมบ์    ที่เคลื่อนที่ระหว่างขั้วไฟฟ้า
 ภายในถ่านไฟฉายนั้นหรืออาจหมายความว่า   ถ่านไฟฉายนั้นสามารถทำให้เกิดความต่างศักย์ไฟฟ้าระหว่างขั้วของ
 ถ่านไฟฉายได้ 
1.5 
โวลต์  เมื่อไม่มีกระแสไฟฟ้า
 

       จากรูป  สัญลักษณ์     หมายถึง  เซลล์ไฟฟ้า นำโวลต์มิเตอร์ (เครื่องมือวัดความต่างศักย์ไฟฟ้า) 
 มาวัดความต่างศักย์ไฟฟ้าระหว่างขั้วของถ่านไฟฉาย   ปรากฏว่า   วัดได้ค่า 
V1   ตามความหมายของแรงเคลื่อน
ไฟฟ้า  จะได้
...

V1          =          E           =            1.5          โวลต์
        ถ้าวงจรเปลี่ยนไปเป็นรูป (ข)   โวลต์มิเตอร์อ่านได้  V2    ตอนนี้   V2    จะเป็นความต่างศักย์ไฟฟ้าที่ตกคร่อม
  ความต้านทาน
  และเป็นความต่างศักย์ไฟฟ้าระหว่างขั้วของเซลล์ไฟฟ้า   เมื่อมีความต้านทาน  ต่อรวมอยู่ 
  พบว่า 
V2  น้อยกว่าแรงเคลื่อนไฟฟ้า E  อธิบายได้ว่า  เพราะเซลล์ไฟฟ้ามีความต้านทานภายใน  ทำให้พลังงาน
  ไฟฟ้าบางส่วนสูญเสียไป   โดยการอาศัยกฎของโอห์ม
   และความหมายของแรงเคลื่อนไฟฟ้า  และความต่างศักย์
  ไฟฟ้า  จะได้
...

E          =          IR  +  Ir
       หรือ...
       เมื่อ ...   I   เป็นกระแสไฟฟ้า

สรุปนิยาม...

         
 แรงเคลื่อนไฟฟ้า (electromotive   force “e.m.f.”) หมายถึง พลังงานไฟฟ้าที่แหล่งกำเนิด (เซลล์ไฟฟ้า) ใช้ในการเคลื่อนประจุ +1 คูลอมบ์  ครบวงจรพอดี  จากขั้วบวกไปยังขั้วลบผ่านตัวต้านทาน (R)  ภายนอกเซลล์และจากขั้วลบไปยังขั้วบวก  ผ่านเซลล์ไฟฟ้าภายใน  มีหน่วยเป็น  จูลต่อคูลอมบ์ หรือ โวลต์
           ความต่างศักย์ไฟฟ้าภายนอกเซลล์  (VR)  หมายถึง พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ในการเคลื่อนประจุ +1 คูลอมบ์  จากขั้วบวกไปยังขั้วลบของเซลล์  โดยผ่านตัวต้านทานภายนอกเซลล์ (R)  มีหน่วยเป็น  จูลต่อคูลอมบ์  หรือ  โวลต์
           ความต่างศักย์ไฟฟ้าภายในเซลล์  (Vr)    หมายถึง  พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ในการเคลื่อนประจุ  +1 คูลอมบ์   จากขั้วลบไปยังขั้วบวกของเซลล์   โดยผ่านภายในเซลล์ไฟฟ้า  มีหน่วย เป็น  จูลต่อคูลอมบ์ หรือ  โวลต์
           ความต้านทานภายใน  (r) หมายถึง ความต้านทานภายในเซลล์ไฟฟ้า  มีหน่วย เป็น  โวลต์ต่อแอมแปร์  หรือ โอห์ม

วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เพลงสบายๆผ่อนคลาย



แรงดันของน้ำเหนือประตูน้ำหรือเขื่อน

แรงดันของน้ำเหนือประตูน้ำหรือเขื่อน

เมื่อ พิจารณาที่ประตูกั้นน้ำหรือเขื่อน จะมีแรงดันเนื่องจากน้ำและอากาศกระทำต่อประตูน้ำหรือเขื่อนตลอดเวลา แต่เนื่องจากแรงลัพธ์ของอากาศบนประตูน้ำหรือเขื่อนทั้งสองด้านเป็นศูนย์ จึงพิจารณาแรงดันเนื่องจากน้ำเท่านั้น
ลักษณะของประตูน้ำหรือเขื่อนมี 2 ลักษณะใหญ่ คือ
1. ตั้งตรงในแนวดิ่ง
2.  เอียง
การคำนวณหาแรงดันที่กระทำต่อประตูกั้นน้ำหรือเขื่อน
1. ลักษณะแรงดันของน้ำจะตั้งฉากกับผิวสัมผัส คือ ผนังเขื่อนหรือผนังประตูน้ำเสมอ
2. การคำนวณหาขนาดของแรงดันเหมือนกับการหาแรงดันของของเหลวที่กระทำต่อผนังภาชนะ คือ

หรืออาจเขียนความสัมพันธ์ของ F กับ h กรณีประตูกั้นน้ำหรือเขื่อนตั้งตรงในแนวดิ่ง ได้ว่า

เมื่อพิจารณาน้ำที่อยู่เหนือเขื่อนหรือประตูกั้นน้ำอยู่นิ่ง แรงที่กระทำต่อเขื่อนหรือประตูกั้นน้ำในรูปที่ 11  เท่ากับ

ซึ่งจะเห็นว่า แรงทั้งหมดที่กระทำต่อเขื่อนหรือประตูกั้นน้ำ แปรผันตรงกับความสูงของระดับน้ำยกกำลังสอง
ดังนั้นเมื่อน้ำเหนือเขื่อนหรือประตูกั้นน้ำสูงเพิ่มขึ้น จะทำให้แรงที่กระทำต่อเขื่อนหรือประตูกั้นน้ำมีค่าเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ ซึ่งถ้าแรงกระทำมากอาจจะเป็นอันตรายเพราะอาจทำให้เขื่อนหรือประตูกั้นน้ำพัง ทะลายได้